เครื่องประดับไม่ว่าจะเป็นแหวน สร้อยคอ หรือกำไล ส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการชุบหรือเคลือบผิวโลหะเพื่อความสวยงามและคงทนต่อการใช้งาน การชุบด้วยทองไมครอน ทองคำขาว โรเดียม และโรสโกลด์ คือ ความนิยมของตลาดหรือความต้องการของลูกค้า กระบวนการชุบมีเทคนิคจากประสบการณ์ของแต่ละคน การชุบต้องชุบด้วยไฟฟ้า มีอุปกรณ์นำสื่อกระแสไฟฟ้าเพื่อเคลือบผิวนอกของเนื้อโลหะ หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าตัวเรือนเครื่องประดับ เพื่อให้ได้มาซึ่งสีตามที่เราต้องการ
การชุบเครื่องประดับมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ชิ้นงานดูสวยงามแวววาวขึ้นสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้เครื่องประดับไม่หมองหรือไม่เก่าไวจนเกินไป และรวมไปถึงยังจะช่วยให้ได้สีวัสดุสวยงามในต้นทุนที่ถูกลง เช่น วัสดุทองหรือโรสโกลด์ จากในราคาหลักหมื่นก็อาจจะเหลือถึงราคาหลักร้อยถึงพัน โดยจะขึ้นอยู่กับตัวเรือนที่นำมาใช้ชุบ ถ้าตัวเรือนเป็นเงินแท้ก็อาจจะอยู่ในราคาหลักพัน แต่ถ้าเป็นตัวเรือนเป็นทองแดงหรือโลหะผสมก็จะอยู่ที่หลักร้อยบาท ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับลวดลาย รูปแบบและเพชร พลอยหรือที่ประดับด้วย
ถ้าหากว่าสีภายนอกของเครื่องประดับเกิดไปโดนถูกขีดข่วนหรือไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดนถูกสารเคมีก็สามารถลอกออกได้ โดยเราจะสังเกตเห็นเป็นสีเนื้อภายใน เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อเราจะใส่เครื่องประดับจึงต้องมีความระมัดระวังกันบ้าง แต่ถ้าหากว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นใช้กระบวนการชุบที่หนาพิเศษแล้ว ก็จะเป็นตัวช่วยให้เครื่องประดับมีความสวยงามทนทานนานขึ้นกว่าปกติ และจะไม่ทิ้งคราบเขียวหรือหลุดลอกออกมาเป็นแผ่น ๆ แต่จะค่อย ๆ จางลงออกไปตาม ระยะเวลาและลักษณะของการใช้งาน ในชีวิตประจำวัน ซึ่งถ้าหากว่าเรามีการใช้งานอย่างถะนุถนอม เครื่องประดับของเราก็จะสามารถมีอายุของการใช้งานมากกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปีได้
เครื่องประดับที่มีสีทอง สีโรสโกลด์หรือสีอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับสีวัสดุ แล้วนำไปชุบไม่ว่าจะด้วยกระบวนการใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะยังไงก็สามารถเกิดการหลุดลอกหรือสีจางได้เช่นกัน เพียงแต่ในบางครั้งอาจจะไม่หลุดลอกออกมาเป็นแผ่น ๆ แต่จะค่อย ๆ จางออกไปแทน ส่วนในกรณีที่ลูกค้าไม่อยากให้เกิดการหลุดลอกของเครื่องประดับ มีวิธีการแก้ไขอยู่ทางเดียวนั่นก็คือ ต้องเลือกซื้อเป็นวัสดุทองหรือโรสโกลด์แทนไปเลยเพราะสีข้างนอกเป็นสีเดียวกับเนื้อวัสดุ อย่างเช่น สีทองขาวก็จะดูไม่ลอกเพราะเป็นสีเดียวกับเนื้อวัสดุเงินนั่นเอง
ปกติแล้ว เครื่องประดับชุบทุกประเภท มีความหนาในการชุบหลัก ๆ คือ 1ไมครอน กับ 5ไมครอน และนิยมชุบกันอยู่ 5 ประเภท คือ
• การชุบโรเดียม
• การชุบทองคำ
• การชุบแพลททินัม
• การชุบพิงค์โกลด์
• การชุบโรเดียมดำ
ส่วนในเรื่องของความคงทนของเครื่องประดับนั้นขึ้นอยู่กับความหนาของการชุบ ถ้าหากมีราคาถูกมาก ๆ ก็อาจจะชุบบางหน่อย โดยทั่วไปคือ 1ไมครอน แต่หากชุบหนา ที่นิยมชุบกันจะอยู่ที่ 5ไมครอน ก็จะมีความคงทนและราคาแพงมากขึ้นไปอีกด้วย
โดย ทั่วไปคนที่มีเหงื่อออกมาก ก็จะทำให้เครื่องประดับมีสีหมอง คล้ำ ซีด จาง ลงได้เร็วกว่าผู้ที่มีเหงื่อน้อย อีกทั้งหากเป็นคนที่มีเหงื่อเค็มก็ยิ่งทำให้เครื่องประดับหมองคล้ำได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงการโดนสารเคมีต่าง ๆ เช่น โลชั่น น้ำหอม ผงซักฟอก ก็ทำให้เครื่องประดับหมองได้ ไม่ว่าจะมีราคาแพงหรือทำจากวัสดุใดก็ทำให้เครื่องประดับของเราหมองได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วเครื่องประดับทุกชนิดทุกประเภทจึงควรหลีกเลี่ยงสารเคมีให้ได้มากที่สุด
ถ้าหากใช้เครื่องประดับใส่ในชีวิตประจำวันตามปกติ ก็สามารถวางใจได้และไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดการลอกหรือดำเกิดขึ้น เพราะเครื่องประดับไม่ได้ลอกง่ายขนาดนั้น แค่พยายามดูแลอย่าให้ไปเกิดการกระแทกหรือเกิดรอยขีดข่วนขึ้นตอนเวลาใส่ เช่น ไม่ได้ใส่ยกเวท ยกเหล็ก ขุดดิน ทำเกษตรกรรม หรือทำอะไรก็ตามที่จะไปทำให้เกิดแรงกระแทกและรอยขีดข่วน รวมถึงไม่ใส่อาบน้ำทุกวัน แค่เพียงเท่านี้เครื่องประดับของท่านก็จะสามารถอยู่ทนนานมากหลายปีได้อย่างสบายใจไร้กังวล
• การชุบเงินธรรมดา จะมีข้อดีก็คือจะทำให้ผิวของแหวนมีความมันแวววาว ค่อนข้างขาวแบบสีเงินสวยงาม แต่ก็ยังจะห่วงมีข้อเสียอยู่คือไม่สามารถอยู่ได้นาน ไม่ทนทาน เมื่อไม่ได้ถูกใช้ไป เป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือวางทิ้งไว้เฉย ๆ ก็จะสามารถกลับมาดำได้โดยง่ายจึงทำให้ต้องล้างหรือต้องขัดด้วยน้ำยาล้างเครื่องประดับอยู่บ่อยครั้งถึงจะสามารถทำให้เครื่องประดับนั้นมีความสวยงามเหมือนเดิมได้
• การชุบโรเดียม จะมีข้อดีคือสีที่ได้ออกมานั้นจะเป็นแบบสีทองคำขาว โดยสีของแหวนจะเป็นสีออกเทา มันแวววาว แต่ไม่ขาวโพลนเหมือนกับการชุบด้วยเงินธรรมดา โดยการชุบแบบชุบโรเดียม จะทำให้ติดทนนานและจะมีการหมองที่เกิดขึ้นได้ช้ากว่าการชุบด้วยทองขาวอย่างมาก ซึ่งจะสามารถทำความสะอาดได้โดยง่ายเพียงแค่ใช้น้ำยาล้างเครื่องประดับหรือน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจาน จากนั้นใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เครื่องประดับก็จะกลับมาเงางาม
เครื่องประดับไม่ว่าจะทำจากอะไร ราคามากน้อยเพียงใดก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาและทำความสะอาดอย่างดี เครื่องประดับอาจหมองได้จากการโดนน้ำยาหรือสารเคมีต่าง ๆ แม้กระทั่งน้ำหรือเหงื่อของเราเองก็ตาม ถ้าอยากให้เครื่องประดับดูดีและใช้ได้นาน ๆ ก็ควรจะต้องดูแลรักษาให้ดี โดยมีข้อควรระวัง ดังนี้
• การถอดเครื่องประดับก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ควรถอดเครื่องประดับออกขณะที่ต้องทำงานบ้านต่าง ๆ เช่น ล้างจาน ถูพื้น ซักผ้า หรือตอนล้างมือ อาบน้ำ รวมทั้งว่ายน้ำหรือลงเล่นน้ำทะเลหรือสระน้ำ
• ระมัดระวังไม่ให้เครื่องประดับไปกระทบกระแทกหรือเสียดสีกับโลหะ ของแข็ง ของมีคมหรือของแหลมต่าง ๆ
ควรทำความสะอาดเครื่องประดับเป็นประจำ ทำได้โดยล้างน้ำสะอาดอุ่นๆ ผสมน้ำยาล้างจานนิดหน่อย หรืออาจจะใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเครื่องประดับโดยเฉพาะ ใช้แปรงขนนุ่มๆ ค่อยๆ ถูทำความสะอาดเครื่องประดับ เสร็จแล้วให้ล้างด้วยน้ำสะอาด ก่อนนำไปเช็ดด้วยผ้านุ่มๆให้แห้งก่อนจะเก็บ
ควรทำการเก็บในกล่องหรือถุงสำหรับเก็บเครื่องประดับโดยเฉพาะในอุณหภูมิปกติ ไม่อับชื้นและควรแยกใส่กันคนละถุงเพื่อไม่ให้เครื่องประดับเกิดการกระทบกันจนเป็นตำหนิริ้วรอย
เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะอดไม่ได้กับการมีเครื่องประดับเพื่อใช้ในการนำมาตกแต่งและสวมใส่ และเมื่อท่านได้เครื่องประดับชิ้นนั้นมาแล้ว ก็คงต้องอยากใส่ไว้ให้ได้นานที่สุด ซึ่งโดยบางครั้ง บางชิ้นงานเครื่องประดับนั้นไม่สามารถหาซื้อได้อีกแล้ว อาจจะเพราะหมดรุ่นหรือไม่ได้ทำการผลิตอีก เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะดูแลและใส่ใจในเครื่องประดับของเราทุก ๆ ชิ้นที่มีไว้ครอบครองตั้งแต่แรกเริ่มที่ได้มาจะเป็นการดีกว่า เพื่อที่ท่านจะได้ใส่ในสิ่งที่รักได้นานขึ้น ไม่ว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นจะทำมาจากวัสดุอะไร เพราะทุกชิ้นงานล้วนมีค่าและมีความหมายสำหรับผู้ที่สวมใส่ทุกคน