วันนี้หมวยจะพูดถึง หนึ่งในเคล็ดลับการเลือกแบบ แหวนให้เหมาะกับ Lifestyle ซึ่งก็คือการเลือกวิธีการฝังเพชรที่ใช่ค่ะ!
วิธีการฝังเพชร (หรือวิธีที่ตัวเรือนจะยึดเพชรเอาไว้) มีหลายวิธีมากๆ ซึ่งแต่ละวิธี นอกจากจะได้ดีไซน์และความสวยงามที่แตกต่างกันแล้ว ความแข็งแรงและการใช้งานก็ต่างกันค่ะ (บางแบบใส่ลุยๆได้ แต่บางแบบก็ต้องการการทะนุถนอมค่ะ) ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแหวนเพชร ควรจะศึกษาให้ดีก่อนค่ะ
สำหรับคุณลูกค้าที่มีดีไซน์ในใจแล้ว แต่ไม่มั่นใจว่าวิธีการฝังเพชรจะเหมาะกับตัวเองรึเปล่า สามารถหลังไมค์เข้ามาทางไลน์ @leelagems (มี @) >> ได้เลยนะคะ
คำถามที่ลูกค้าถามหมวยบ่อยๆ ก็คือ แบบ 6 หนามเตย จะแข็งแรงกว่าแบบ 4 หนามเตยรึเปล่า ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว การมีตัวยึด 6 จุดย่อมดีกว่ามีแค่ 4 จุดแน่นอนค่ะ เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุแรงๆ จนทำให้หนามเตยหักขึ้นมา จาก 6 เหลือ 5 หนามเตยก็ยังสามารถประคองเพชรให้อยู่บนแหวนได้ แต่ถ้าจาก 4 เหลือ 3 เพชรอาจจะหลุดออกมาได้ค่ะ
แต่ในทางปฏิบัติ สำหรับเพชรเม็ดกลางหนามเตยจะใหญ่และแข็งแรงมากๆ โอกาสที่หนามเตยจะหักมีน้อยค่ะ ดังนั้นหมวยแนะนำว่าให้เลือกแบบที่ชอบที่สุดได้เลยค่ะ ^^
เราสามารถใส่รายละเอียดให้กับหนามเตย ด้วยการออกแบบหนามเตยเป็นดีไซน์ต่างๆได้ค่ะ หมวยยกตัวอย่างแบบที่นิยมมาทั้งหมด 6 แบบดังนี้ค่ะ
1. หนามเตยกลม เป็นลุคที่คลาสสิคที่สุดค่ะ
2. หนามเตยหัวใจ อันนี้จะออกแนวหวานๆค่ะ
3. หนามเตยลูกศร (หรือหยดน้ำ) แบบนี้จะช่วยให้เพชรดูใหญ่ขึ้นได้มากค่ะ
4. หนามเตยสี่เหลี่ยม อันนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบลุคเท่ๆหน่อยค่ะ
5. หนามเตยคู่ อันนี้เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบแบบ 4 หนามเตยแต่อยากเพิ่มความแข็งแรงเข้าไปค่ะ
6. หนามเตยหัวเรือ เหมาะสำหรับเพชรแฟนซี (เพชรทรง princess, หยดน้ำ, หัวใจ, มาคี) เพื่อป้องกันการกระแทกที่มุมของเพชรค่ะ
วิธีการฝังหนามเตย นอกจากจะใช้ยึดเพชรเม็ดกลางของแหวนชูแล้ว ก็ยังนิยมทำเป็นแหวนเพชรแถว หรือเป็นบ่าข้างของแหวนเพชรชู ก็จะได้ลุคหวานๆหรูๆค่ะ โดยสำหรับการยึดเพชรเล็กๆเป็นแถวๆแบบนี้ จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันค่ะ
• None การฝังแบบหนามเตยร่วม คือหนามเตย 1 อันจะยึดเพชรไว้ 2 เม็ด ซึ่งวิธีนี้จะโชว์ตัวเพชรให้เล่นไฟได้ดี และดีไซน์จะดูอ่อนช้อยมากๆ แต่ข้อจำกัดคือต้องทะนุถนอมแหวนมากพอสมควรเลยค่ะ เพราะถ้าเกิด accident แรงจนถึงขั้นหนามเตยบิ่นหรือหักขึ้นมา เพชรอาจจะหลุดออกมาได้ทั้ง 2 เม็ดเลยค่ะ
• None การฝังแบบหนามเตยแยก คือเพชร 1 เม็ดจะมีหนามเตยเป็นของตัวเองเลย 4 หนามเตย ซึ่งจะแข็งแรงและเหมาะสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าแบบหนามเตยร่วมค่ะ
(2) การฝังสอด หรือฝังล็อค (Channel Setting) วิธีนี้จะมีขอบทอง(หรือทองขาว) 2 แถวมาขนาบยึดตัวเพชรเอาไว้ ซึ่งขอบทอง(ขาว)นี้ จะช่วยเสริมให้เพชรดูใหญ่ขึ้นได้ค่ะ และยังแข็งแรง เหมาะสำหรับการใส่ในชีวิตประจำวันเพราะไม่เกี่ยวเสื้อผ้าด้วยค่ะ แต่วิธีการฝังสอดนี้ ลุคอาจจะดูไม่หวานมากนักค่ะ
(4) การฝังหนีบ (Tension Setting) เป็นวิธียอดนิยมสำหรับแหวนเพชรชาย หรือแหวนสำหรับใส่ในชีวิตประจำวันของคุณผู้หญิงค่ะ เพราะเพชรจะไม่ชูออกมา และด้วยดีไซน์ที่เปลือยเพชร 2 ด้าน ทำให้เพชรสามารถเล่นไฟได้อย่างเต็มที่ แต่การใช้งานก็จะต้องคอยระวังนิดนึงค่ะ ถ้ากระแทกแรงๆเพชรอาจจะเริ่มขยับ (แต่ส่วนมากจะยังไม่หลุดออกมาจากตัวเรือนนะคะ) ถ้ารู้สึกว่าเพชรเริ่มขยับได้ ควรนำแหวนกลับมาให้ช่างดูแล และย้ำเพชรให้ค่ะ
(5) การฝังหุ้ม (Bezel Setting) คือการเอาทอง(หรือทองขาว)มาหุ้มเพชรเอาไว้ ซึ่งจุดเด่นก็คือความแข็งแรงมากๆ และไม่เกี่ยวเสื้อผ้า หรือถ้าเพชรมีรอยบิ่นหรือตำหนิที่ขอบเพชร วิธีนี้ก็จะช่วยปกปิดได้อย่างแนบเนียน
การจะเลือกวิธีนี้ เพชรควรจะต้องเป็นเหลี่ยม perfect hearts & arrows ค่ะ เพราะแสงสะท้อนเข้าเพชรได้จำกัด ถ้าเพชรเหลี่ยมไม่สวยก็จะดูนิ่งสนิท ไม่มีการเล่นไฟใดๆเลยค่ะ
ข้อจำกัดอีกอย่างของวิธีนี้ก็คือ ถ้าเป็นเพชรใบเซอร์ที่มีเลขเลเซอร์ที่ขอบเพชร จะเช็คไม่ได้เลยค่ะ เพราะตัวเรือนหุ้มขอบเพชรไว้ทั้งหมด ต้องอาศัยความเชื่อใจร้านที่ซื้อด้วยล้วนๆค่ะ
สำหรับคุณผู้ชายที่ชอบแหวนเกลี้ยงแต่อยากใส่เพชรซักเม็ดนึง วิธีนี้คือใช่เลยค่ะ ^^
จุดเด่นคือความแข็งแรงและไม่เกี่ยวเสื้อผ้า สามารถปกปิดรอยบิ่นหรือตำหนิที่ขอบเพชรได้
ข้อจำกัดก็คือเรื่องการเล่นไฟของเพชรที่ต้องใช้เพชรเหลี่ยมสวยเพอร์เฟ็คและการไม่สามารถเช็คตัวเลขเลเซอร์ที่ขอบเพชรได้ (กรณีเพชรมีใบเซอร์)
จบทั้ง 6 วิธีแล้วนะคะ ทุกแบบมีจุดเด่นและข้อจำกัดต่างๆกัน ดังนั้นเราจึงควรเลือกแบบที่ตรงกับบุคลิกและ lifestyle ของเรามากที่สุดค่ะ