ช่วงรัชกาลที่ 4 ธุรกิจแร่ดีบุกแผ่ขยายจากปีนังซึ่งอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ และข้ามทะเลอันดามันมายังภูเก็ตซึ่งเดินเรือไม่นานเมื่อเปรียบเทียบการเดินทางไปกรุงเทพซึ่งใช้เวลามากกว่าถึง 3 เท่าตัว ชาวจีนเข้ามาทำงานในภูเก็ต ทั้งเป็นนายเหมืองและกุลี ชาวจีนเหล่านี้ขยันและอดออมจนมีฐานะ หลายคนเลยตัดสินใจตั้งรกรากและแต่งงานกับหญิงไทยพื้นถิ่น ให้กำเนิดลูกครึ่งจีน-มลายู “บาบ๋า-ยอนย่า” (ลูกชาย ลูกสาว)
ชุดแต่งงานของชาวบาบ๋า (ลูกผสม) เป็นชุดครุยยาว ได้รับอิทธิพลมาจากมลายู “บาจู ปันจัง” สวมทับเสื้อตัวในและนุ่งผ้าปาเต๊ะ ครุยยาวที่คล้ายฉลองพระองค์ของฮองเฮา ส่วนลายผ้าและลายปักจะมาทางมลายู สมัยก่อนงานแต่งงานจะฉลองกันถึง 7 วันเนื่องจากเป็นงานสำคัญมาก และปัจจุบัน 2 วันคือวันหนมสด (ขนมสด) และวันแต่ง
ชุดเจ้าสาวของชาวบาบ๋าที่ภูเก็ต หลายครอบครัวส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น หลายครอบครัวสั่งทำชุดพิเศษเพื่อมอบเป็นของขวัญในวันแต่งงาน
เจ้าสาว จะใส่ชุดครุยยาวคอวี Baju Panjang ผ้าฝ้ายเนื้อบางหรือมัสลินจากเยอรมัน ผ้าป่านรูเปียจากอินโด ยาวเหนือผ้านุ่งประมาณ 1 คืบ ใส่ครุยทับเสื้อคอตั้ง สีขาว แขนยาวจีบปลายแขน มีกระเป๋าใบใหญ่ 2 ด้าน คล้ายเสื้อจีน กระดุมทองแท้ ผ้าจะนำเข้ามาจากประเทศนอก มาทางเรือของฝรั่งที่เดินเรือด้วยชาวอินเดียหรือชาวจีน และนุ่งผ้านุ่งผืนสวย ก่อนจะประโคมเพชรทองบนชุดเจ้าสาว ~ พศ 2443-2436
เจ้าบ่าวใส่แม่เสื้อ (สูท) นิยมสีขาวในช่วงแรกๆ และเป็นสีดำในช่วงหลัง ติดปิ่นตั้ง ดาว 6 แฉกประดับเพชร ที่สายเอว (เข็มขัดกางเกง) แขวนลูกแจ (พวงกุญแจ) ทองแท้
ฮั้วก๋วน (มงกุฎดอกไม้ไหว) ใช้ดิ้นเงินดิ้นทองทำเป็นดอกเฉ่งก๊อ และลูกปัดแก้ว สีขาวสีทอง ทรงกลม ทรงเจีย วางบนมวยอีเปงหรือชักอีโบย (มวยสูง ด้านหน้าตึง ตีปีกโป่งๆเหมือนแก้มปลาด้านข้างเพื่อให้หน้าเรียวสวย) ประดับด้วยหงส์หรือนกฟีนิกซ์ เป็นสัญญลักษณ์ของนางพญาที่จะมาดูแลครอบครัว แต่ซ่อนความอ่อนหวาน อบอุ่น ในฐานะเมีย นอกจากนี้ยังประดับมงกุฎดอกไม้ ผีเสื้อ ที่หมายความถึงความรักความผูกพันชั่วกาลนานของบ่าวสาวสมัยก่อนแต่งงานแบบคลุมถุงชน ดอกไม้บนมงกุฎจะสั่นไหวระริกตามความตื่นเต้นของเจ้าสาวที่ถูกปิดหน้าด้วยผ้าแดงเช้ายันค่ำจนถูกนำไปนั่งบนเตียงนอนในห้องหอ และคนเปิดผ้าคลุมหน้าคนแรกคือเจ้าบ่าวสิ่นะ
เข็มเหน็บมวย มีทั้งเป็นทองแท้เรียบๆ ทำลาย ทองประดับเพชรหรือัญมณี สมัยก่อนผู้หญิงไว้ผมยาวเกล้ามวยตำ่ ล้อมมวยด้วยดอกไม้หรือพวงมาลัย ปิ่นจีงเป็นเครื่องประดับสำคัญชิ้นหนึ่ง เข็มเหน็บจะใส่เป็นเลขคี่ 1 3 5 7 สาวโสดปักด้านขวา แต่งงานแล้วย้ายไปปักด้านซ้ายส่วนเจ้าสาวจะใส่ฮั้วก๋วน (มงกุฎ) ก่อน แล้วเหน็บเข็ม 6 อัน โดยอันแรกเริ่มจาก อันเล็กสุด ปักให้ตรงกับกลางหน้าผาก แล้วปักเรียงไปด้านข้างให้สวยงาม กอสัง Kerosang เครืองประดับประเภทเข็มกลัดใช้แทนกระดุมของเสื้อครุยยาว มี 3 ตัวแม่ลูก (a set of mother & child) ตัวแม่ออกแบบเป็นรูปหัวใจ ตัวลูกเป็นกลมๆ กอสังประดับสารพัดแบบ เพชร อัญมณีต่างๆ เพราะแต่ละนางมีหลายชุด เนื่องจากใส่เข้ากับสีเสื้อ สีผ้านุ่ง รองเท้า เช่น ถ้าเสื้อสีเขียวสีครีม กอจะเป็นหยก ถ้าเสื้อสีแดง กอสังอาจจะเป็นพลอยสังเกตุเข็มกลัด ติดยากมาก แต่ถ้าติดแล้วจะไม่มีวันหลุดออกจากเสื้อ ถือเป็นภูมิปัญญาของช่างสมัยนั้น กอสัง แม่ลูก ชุดนี้อายุ 100 กว่าปีน่าจะได้ กอสังจะใช้แทนกระดุม ติดครุยยาวหรือเสื้อและเป็นเครื่องประดับในเวลาเดียวกัน ชุดนี้ทำจากทองคำแท้ ตัวแม่ออกแบบทรงหัวใจ และตัวลูก 2 ตัวทรงกลม (mother and child) ประดับอัญมณีและหยกซึ่งแปลกตากว่าที่เคยเห็นทั่วไป ตอนได้มาลูกหายไปตัวนึง จี้เลยสั่งทำให้ครบชุด เอ่อ ไม่รู้จะทำๆไม มันเหมือนอยู่ดี งงๆ กอสังทองแท้ ประดับเพชรซีก ชุดนี้อายุน่าจะ 7-80ปี ตัวแม่ทรงหัวใจ และตัวลูก 2 ตัวทรงกลม (mother and child) กอสังทองประดับเพชรแนวนี้นิยมมากที่สุดเพราะเข้ากับเสื้อผ้าง่าย ไม่ว่าจะสีขาวหรือสีอื่นๆ และเข้ากับเครื่องประดับอื่นๆด้วย
กอสังทองคำแท้โบราณ เซ็ตนาก สวยแปลก เก่ามาก อันนี้ร้อยปีขึ้นเห็นจะได้ ประดับเพชรซีก เม็ดกลางขนาดใหญ่มาก ตัวแม่ทรงหัวใจ และตัวลูก 2 ตัวครบ ทรงกลม (mother and child) ดูดีๆตัวนี้เพชรใสแจ๋ว ฝีมือช่างทำได้หวานหยดย้อยมากน่าจะเกินร้อยปีไปมากละแต่รายละเอียดยังเป๊ะเว่อร์ กอสังทองแท้ สุกปลั่งประดับเพชรซีกนำ้ดี โดยเฉพาะเม็ดกลางน่าจะใหญ่เกือบ 3 กะรัต และเม็ดข้าง 2 เม็ดก็เกือบ 2 กะรัต ซึ่งแบบนี้มักจะมีราคาค่อนข้างสูง ตัวแม่ทรงหัวใจ และตัวลูก 2 ตัวทรงกลม (mother and child) ประดับเพชรซีกแต่โดนไฟแล้ววิ่งมาก ผลิตโดยช่างฝีมือ กอสังตัวเรือนทอง % ตำ่ ทรงและรายละเอียดเป็นแบบดั้งเดิม น่าจะเป็นยุคต้นๆของการเริ่มทำเครื่องประดับของชาวจีนในภูเก็ตและปีนัง มีแต่ตัวแม่ตัวเดียว เสียดายมาก ตัวลูก 2 ตัวหายหมดแล้ว จี้ชอบตรงพลอยสีแดง น่ารักดี และลายละเอียดยิบ แสดงถึงฝีมือช่างชั้นสูงสมัยโน้น กอสัง นอกจากมีแบบแม่ลูก ก็ยังมีแบบ 3 ตัวแบบเดียวกัน และมีโซ่คล้องติดกัน ใช้แทนกระดุมเช่นกัน ชุดนี้เป็นทองคำแท้ เพชรซีก ลายดอกเหมย ดอกไม้สำคัญของคนจีน หมายความว่ามีความสวยงาม อ่อนหวาน แต่มั่นคงแม้แต่ในอากาศหนาวเหน็บดอกเหมยก็ยังยืนหยัดคงความสวยงามอยู่ได้
กอสังแบบ 3 ตัว ใช้แทนกระดุมและประดับเสื้อในเวลาเดียวกัน ชุดนี้เป็นทองคำแท้ เพชรซีก ลายดอกไม้และเถาวัลย์ ลายยอดนิยมสมัยก่อน มีหมายความถึงความเจริญงอกงาม ผลิบานเหมือนฤดูใบไม้ผลิ
กอสังเพชร กลัดเสื้อแทนกระดุม มี 3 ตัวแม่ลูก ไม่ได้เก่ามาก น่าจะทำเลียนแบบลายยอดนิยมสมัยวิคทอเรียน เพราะทั้งทรงและลายต่างจากแบบอื่นๆของจีนและแขก แต่ดูละม้ายที่เราเคยเห็นของยุโรปมากกว่า อัญมณีเป็นพลอยไม่ใช่เพชร ปิ่นตั้ง แปลว่าดาว เจ้าสาวใช้กลัดประดับชุดครุย เจ้าบ่าวใช้กลัดแม่เสื้อ (สูท) ของเจ้าบ่าว ออกแบบเป็นดาวประดับเพชร 6 แฉก มีดาวเล็กๆแทรก ทรงโค้งนูนเหมือนหลังเต่า เข้าใจว่าเป็นสัญญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและอายุมั่นขวัญยืนเพื่อเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบไป ลูกดุมทอง หรือลูกดุมปิ่นตั้ง มี 5-7 เม็ด สั่งทำตามแบบที่เจ้าของชอบ มีทั้งทองเรียบๆ ทองทำลาย ทองฝังเพชร เสื้อบาบ๋าจะไม่มีกระดุม ส่วนมากจะใส่กระดุมทองกัน หลังกระดุมจะมีสร้อยทองสั้นๆ และตัวล๊อคเพื่อให้ติดกับตัวเสื้อและไม่หล่นหายด้วย แต่ละคนมีดุมทองหลายชุด ใส่ตามวาระและโอกาส หลั่นเต่ป๋าย ชิ้นที่งดงามและหวานที่สุดบนชุดเจ้าสาว สร้อยทองฉลุประดับเพชร ลายดอกไม้ ผีเสื้อ นก แมลงต่างๆ เสมือนชีวิตที่สดใสของฤดูใบไม้ผลิ ที่ทุกสรรพสิ่งพร้อมเริ่มต้น สร้อยแต่ละเส้นจะออกแบบมีความพริ้วไหว แต่ละส่วนจะขยับได้ เวลาขยับตัวจะได้เห็นประกายเพชรระยิบระยับสวยงาม หลายเส้นที่เรามี สามารถแกะออกมาเป็นชิ้นส่วน เช่น เข็มกลัด สร้อยข้อมือ ที่ติดผม ได้ด้วย ช่างออกแบบได้ปราณีตจริงๆ
อันนี้เป็นลายผีเสื้อ หมายถึงความงาม ความอมตะ ความสุข และความเจริญ และเป็นฮวงจุ้ยสำคัญของคนจีนด้วย สร้อยแต่ละเส้นจะออกแบบมีความพริ้วไหว แต่ละส่วนจะขยับได้ เวลาขยับตัวจะได้เห็นประกายเพชรระยิบระยับสวยงาม หลายเส้นที่เรามี สามารถแกะออกมาเป็นชิ้นส่วน เช่น เข็มกลัด สร้อยข้อมือ ที่ติดผม ได้ด้วย ช่างออกแบบได้ปราณีตจริงๆ แหวนบาเยะ แหวนทรงข้าวหลามตัด เป็นแหวนติดนิ้วของสาวบาบ๋า นิยมใส่เป็นคู่ 2 4 6 8 และครบ 10นิ้วในวันแต่งงานและงานมงคล แหวนบาเยะจะใหญ่จะเล็กขึ้นอยู่กับเพชรเม็ดกลาง เพราะเม็ดอื่นๆต้องล้อกันจนเรียงเป็นข้าวหลามตัดได้สวยงาม ส่วนมากนิยมเป็นเพชรลูกเพราะเวลาขยับมือจะระยิบระยับได้ใจ ดาวกระจาย เป็นเข็มกลัดอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยม ความหมายดีคือขจรขจาย รุ่งเรือง สว่างไสวเหมือนดวงดาว มักทำเป็นเข็มกลัดและจี้ในอันเดียว บางคนนำมาประดับมวยด้วย เวลากลัดชุดครุย จะกลัดสลับกับปินตั้ง เพิ่มความหวาน และความหลากหลายของการตกแต่งบนชุดด้วย
ชุดนี้มี 3 อัน จี้สั่งทำขึ้นมาใหม่เพราะของโบราณจะไม่ค่อยเนียน ดาวกระจาย เป็นเข็มกลัดอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยม ความหมายดีคือขจรขจาย รุ่งเรือง สว่างไสวเหมือนดวงดาว มักทำเป็นเข็มกลัดและจี้ในอันเดียว บางคนนำมาประดับมวยด้วย เวลากลัดชุดครุย จะกลัดสลับกับปินตั้ง เพิ่มความหวาน และความหลากหลายของการตกแต่งบนชุดด้วย เข็มกลัดเพชร ตัวเรือนทองคำแท้ % ตำ่ โดดเด่นด้วยเพชรซีก เม็ดตรงกลางน่าจะ 5 กะรัต อันนี้เข้าใจว่าเป็นของผู้ชาย ใช้กลัดแม่เสื้อ (สูท) หรือเสื้อตึ่งจวง (เสื้อจีน) ตอนออกงานค่อนข้างเป็นทางการ หรือรับแขก เป็นทรงยอดนิยมคือดาวกระจาย หมายความว่าเจริญรุ่งเรือง ชื่อเสียงขจรขจาย เข็มกลัดและจี้ ทองคำแท้ ประดับเพชรลูก อันนี้ไม่ใหญ่มากแต่วิบวับ เอาไว้กลัดปกเสื้อคอตั้งแขนจีบ เหนือสร้อยหลั่นเต่ป๋าย
ทองหูหงส์ ออกแบบให้เลื้อยแนบไปกับใบหู ทำให้คนใส่สง่าน่าเกรงขาม แต่ยังซ่อนความชดช้อยในที ไหมตีน ทองแท้ตีโปร่งเพื่อให้ไม่หนักเกินไป มีแบบเรียบๆ มีลาย และมีระบบที่สามารถทำให้ใส่ข้อเท้าได้ง่าย ที่นิยมคือเป็นลายเกลียว เปรียบเหมือนการอวยพรให้บ่าวสาวกลมเกลียวกันตลอดไป ไหมตีนลายเกลียวเป็นที่นิยมมาก ทองตัน มีนำ้หนัก ส่วนไหมคุ้งคิ้ง (กระพรวน) จะมีเสียงดังจริงจัง ถือว่าเป็นเสียงสวรรค์ เอาเข้าจริงน่าจะทำให้พ่อแม่ได้ยินมากกว่าว่าลูกยังคลานเล่นอยู่ใกล้ตัว พอโตหน่อย เด็กๆก็จะได้ทองเซ็ตใหม่จากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เพราะชุดแรกที่ได้ตอนเกิดจะเริ่มคับ เด็กแต่ละคนจะมี 2-3 ชุดตามอายุ
สายเอว ทองทั้งแท่ง เส้นนึงทองหนัก 30-50 บาททีเดียว นอกจากนี้ยังมีสายเอวนาก สายเอวเงิน ซึ่งสาว 1 คน อย่างน้อยต้องมี 1 เส้น แต่ส่วนใหญ่ก็มี 3 แบบตามวาระในการใช้งาน ส่วนลายก็สารพัดนึก ตามความชอบของเจ้าของ เช่น นก ผีเสื้อ มังกร ดอกไม้ ที่มีความหมายมงคลแก่ผู้สวมใส่ เนื่องจากต้องใส่ทุกวันกับผ้านุ่ง เกือกลูกปัด เริ่มนิยมตั้งแต่ยกเลิกการมัดเท้าเล็ก สาวๆมักจะปักลายแผ่นรองเท้าเองแล้วนำไปให้ช่างขึ้นเป็นรองเท้าขนาดของตัวเอง สาวๆทุกคนจะถูกสอนให้ปักรองเท้าแต่เด็ก นอกเหนือจากการฉลุผ้า เย็บผ้า และการเรือนอื่นๆ เพื่อเตรียมไปเป็นเมียและแม่ที่ดีต่อไป
ปล. สมัยนี้ลูกปัดเม็ดยิ่งเล็กยิ่งแพง บางคู่ราคาขึ้นหลักหลายหมื่น ไหมโนรา หรือ กำไลมโนราห์ กำไลทอง นิยมใส่หลายอัน ที่น่าสนใจคือแต่ละอันลายไม่เหมือนกัน พอใส่จะมีเสียงกำไลกระทบกัน และมีมิติของลายที่แตกต่างกันอย่างสวยงาม นากา หรือนาฬิกาทองแท้จากสวิส มีโซ่ทองใช้แขวนขอบกางเกงของผู้ชาย เปิดมาด้านในจะมีชื่อเจ้าของสลักอยู่ สร้อยโกปีจี๊ สมัยก่อนเห็นใส่กันมาก เป็นเครื่องประดับติดตัว ตอนนี้หายากมากๆเพราะไม่มีช่างทำเนี้ยบเหมือนสมัยก่อน เค้าว่าทำยากเพราะต้องทำทีละอัน และเอามาต่อกันอีกกว่าจะเสร็จ จี้โบราณ ทองคำแท้ ลายตระกร้าดอกไม้ ซึ่งนิยมมากในสมัยนั้น หมายความถึงความสดใส ร่าเริง อันนี้พิเศษและแปลกตาเพราะเพชรซีกดูเด่นกว่าทอง ซึ่งปกติจี้ลักษณะแบบนี้ ทองจะเด่นพอๆกับเพชร
อันนี้เก่ามาก ชอบเพราะเป็นทรงหัวใจ นกตรงกลางดูซื่อๆ ไม่ดัดจริตดีอ่ะ ดอกเหมย หรือดอกบ๊วย เป็นสัญลักษณ์ของความงามอันบริสุทธิ์ สดใส หมายถึงชีวิตวัยสาว ต้นเหมยแม้แลดูบอบบางแต่กลับไม่อ่อนแอไปกับลมหนาว จึงเป็นที่นิยม
นกฟีนิกส์คู่ ที่ 2 หัวใจตรงกลางกระดุกกระดิกได้ นกฟงหวง นกแห่งสรวงสวรรค์ หมายถึง อมตะ การเกิดใหม่ เป็นตัวแทนของผู้หญิง (หยิน) คู่กับมังกร ตัวแทนผู้ชาย (หยาง) เมื่อนำนกฟินิกซ์และมังกรมาอยู่คู่กัน จะหมายถึงการมีลูกหลานมากมาย
หวีสับประดับมวย ตัวหวีทำจากกระดองเต่า ด้านบนเป็นเงินแท้ประดับเพชร ข้อดีของหวีสับคือจะปักบนมวยได้แน่นไม่หาย และทำให้ผมมวยเนี้ยบสวยไม่ฟูด้วย กิมตู้น จี้เหรียญทองแท้คำจากอังกฤษ นำมาทำต่อเป็นจี้ใส่ลวดลายสวยงาม อันนี้เป็นเหรียญทองลายราชินี นกฟีนิกส์คู่ ซึ่งมีความหมายมงคล กิมตู้น สาวๆ นิยมใส่ในชีวิตประจำวัน เท่าที่จี้เข้าใจ กิมตู้นมักจะได้เป็นของขวัญตอนเกิด อาม่าอากง หรือพ่อแม่จะสั่งทำรับขวัญลูก ของจี้ก็มี 2 อันคืออันนี้ และอีกอันเล็กกว่าหน่อย ได้จากอาม่า และ ป๋า ตอนเกิด