ประวัติ Cartier เครื่องประดับหรูคู่ราชวงศ์

หลุยส์ คาร์เทียร์

เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบและพัฒนาผลงานออกแบบของคาร์เทียร์เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ผลักดันให้การออกแบบได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานที่ผลิตขึ้นมักเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและอาศัยทักษะสูง อาทิ Mystery Clock นาฬิกาที่มีหน้าปัดโปร่งใส ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนักมายากลฮูดินี โดยที่ซ่อนกลไกของตัวเรือนเอาไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หรือ ‘Tutti Frutti’ สร้อยคอประดับด้วยอัญมณีหลากสี ที่พระราชินีอเล็กซานดราได้สั่งทำขึ้นเพื่อสวมให้เข้าชุดอินเดียที่แมรี เคอร์ซอน ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย หรือการออกแบบนาฬิกาข้อมือรุ่น ‘Santos’ สำหรับผู้ชายสไตล์ Art Deco ซึ่งเป็นการออกแบบนาฬิกาเรือนแรกของโลกให้กับเพื่อนนักบินชาวบราซิล

เอกลักษณ์คาร์เทียร์

Cr.

Cr.

แม้ว่าจะมีนวัตกรรมมากมายที่หลุยส์ได้ริเริ่ม แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นการค้นพบสำคัญและยังคงอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือการผสมผสานแพลตินัมและเพชรเข้าไปในงานออกแบบ โดยนำแพลตินัมมาถักร้อยให้เป็นเส้นและมีลวดลาย เพื่อขับให้เพชรที่มาติดประดับมีความโดดเด่น เปล่งประกาย ส่งผลให้แพลตินัมเป็นวัสดุที่มีราคาและหาแทนได้ยากในงานออกแบบเครื่องประดับ

Cr.

นอกจากนี้ “เสือดาว” ยังได้นำมาใช้ แต่งแต้มลวดลายจุดของเสือดาวลงบนนาฬิกาข้อมือประดับ เพชร ด้วยเทคนิคคิดค้นขึ้นใหม่โดยการใช้ภาพตัดกันในสไตล์อาร์ต เดโค เป็นครั้งแรกในปี 1914 และในปีเดียวกัน หลุยส์ คาร์เทียร์ ได้สั่งซื้อ “เลดี้ วิท แพนเธอร์” จากนักวาดภาพประกอบและนักวาดภาพชาวฝรั่งเศสเพื่อนำมาใช้เป็นบัตรเชิญนิทรรศการ และภาพโฆษณา หลังจากนั้น ภาพของ “นางเสือดาว” ก็โดดเด่นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่ คาร์เทียร์ แบรนด์เครื่องประดับเก่าแก่มาจนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าราชวงศ์

บรรดาลูกค้าของคาร์เทียร์ส่วนใหญ่เป็นราชวงค์ ผู้สูงศักดิ์จากทั่วโลก เนื่องจากพี่น้องคาร์เทียร์ได้ออกเดินทางไปยังประเทศฝังเอเชียกลางและอีกหลายประเทศ ทำให้คาร์เทียร์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมักได้รับคำขอให้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับตามสั่งเพื่อมอบให้กับบุคคลสำคัญระดับสูง หรือระดับราชวงศ์

อาทิเช่น

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งอังกฤษ

Cr.

ในปี 1904 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ได้สั่งผลิตรัดเกล้าถึง 27 อันสำหรับพระราชพิธีขึ้นครองราชและได้กล่าวถึงคาร์เทียร์ว่าเป็น “อัญมณีสำหรับราชาและเป็นราชาแห่งอัญมณี” และยังได้ออกหนังสือรับรองจากราชวงศ์ให้กับคาร์เทียร์อีกด้วย

มงกุฏเทียร่า “cartier” ที่สืบทอดกันมาในราชวงศสเปน

สมมเด็จพระราชชินีมาเรีย คริสติน่า แห่งสเปน ทรงมงกุฏเทียร่าคาร์เทียร์ในปี 1935

CR.

ของสเปนได้พยายามที่จะยึดติดกับเทียร่า มรดกสืบทอดบางอย่าง ส่วนหนึ่งเป็นไปได้เพราะครอบครัวส่วนใหญ่มีการดูแลรักษาอัญมณีส่วนบุคคลไว้เป็นอย่างดีแทนที่จะมอบให้พวกเขาเป็นคอลเล็กชั่นมงกุฎอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังหมายถึงว่า tiaras จำนวนมากเช่น Cartier Diamond Loop Tiara ที่เรากำลังพูดถึงในวันนี้ได้คดเคี้ยวผ่านครอบครัวก่อนที่จะถึงมือเจ้าของปัจจุบัน

สพระราชชินีโซเฟียแห่งสเปน ทรงมงกุฏเทียร่าคาร์เทียในปี 2007

CR.

สมเด็จพระราชชินีเลติเซียแห่งสเปน ทรงมงกุฏเทียร่าคาร์เทียในปี 2018

CR.

เครื่องประดับคาร์เทียร์กับราชวงศ์ไทย

CR.

ในปีพ.ศ. 2557 ในงานนิทรรศการ Cartier Celebrates 100th Anniversary of the Panther and Maison Cartier’s History with Siamese Royal Household ซึ่งจัดเป็นงาน High Jewelry Gala Dinner ได้มีการนำเครื่องประดับชั้นสูงที่อยู่ในหอประวัติศาสตร์ของคาร์เทียร์มาจัดแสดง โดยชิ้นสำคัญที่สุดที่ยืนยันถึงสายสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักสยามคือสร้อยพระศอของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทำจากริบบิ้นไหมกำมะหยี่สีดำตกแต่งด้วยเพชรน้ำงามทั้งสายเป็นลวดลายแบบยุโรปที่นิยมในสมัยนั้นคือสไตล์เอ็ดวอร์เดียนของอังกฤษ แต่จุดเด่นของสร้อยพระศออยู่ที่จุดบรรจบของริบบิ้นไหมที่ตรึงเพชรเป็นลวดลายคล้ายลายประจำยามของไทย ลายประจำยามนี้มีความหมายถึงการปกปักรักษา ป้องกันภัยจากคนคิดร้ายด้วย ซึ่งรสนิยมของราชวงศ์ในสมัยนั้นต้องการความเป็นยุโรป เพราะการแต่งกายทุกอย่างต้องการสื่อถึงความศิวิไลซ์ ไม่ให้ชาติยุโรปมาอ้างเพื่อรุกรานเอาดินแดนไปเป็นอาณานิคม แต่สร้อยพระศอชิ้นนี้ยืนยันถึงความนำสมัยและมีเสน่ห์ของความเป็นไทยในดีไซน์

แบบร่างเครื่องประดับศีรษะโดยคาร์เทียร์ ลอนดอน (ค.ศ. 1928)

Cr.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองการณ์ไกล ทรงเห็นว่าการสะสมเครื่องประดับอัญมณีนอกจากเป็นการแต่งกายของมเหสีที่ต้องสมพระเกียรติแล้ว ยังเป็นทุนทรัพย์ในภายภาคหน้าได้ ดังเช่นที่พระองค์มีพระราชดำรัสแก่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ ซึ่งเป็นอาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ (เจ้าจอมพระสนมเอกคนสุดท้ายในรัชกาลที่ 5) ให้ช่วยจัดการดูแลเครื่องเพชรทั้งหลายที่พระราชทานเพื่อให้เป็นทุนแก่เจ้าจอมสดับในภายภาคหน้าหากสิ้นพระองค์แล้ว แต่ภายหลังด้วยอายุยังน้อยเพียง 20 ปีและเป็นสาวสวย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระวิมาดาเธอฯ เกรงจะมีข้อครหาเพราะเจ้าจอมสดับงามทั้งรูป มากด้วยสมบัติ จึงทรงแนะนำให้เจ้าจอมสดับถวายเครื่องเพชรทั้งหมดแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงไม่รับเพราะถือเป็นของที่พระราชบิดาพระราชทานให้เจ้าจอมสดับ ในที่สุดเจ้าจอมสดับได้ถวายคืนพระพันปีหลวงซึ่งพระองค์ทรงติดต่อกับต่างประเทศเพื่อจำหน่ายแล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาฯ